คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

10.1 ทฤษฎีกรด-เบส จุดประสงค์การเรียนรู้ ระบุและอธิบายว่าสารเป็นกรดหรือเบส โดยใช้ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส เบรินสเตด -ลาวรี และลิวอิส ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสารในชีวิตประจำ�วันที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น น้ำ�มะนาว น้ำ�ส้มสายชู น้ำ�อัดลม จากนั้นร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของกรดตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับกรดทวิภาคและกรดออกซีตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 3. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสารในชีวิตประจำ�วันที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น แอมโมเนีย โซดาไฟ ปูนขาว จากนั้นร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของเบสตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 4. ครูใช้คำ�ถามว่า นอกจากสมบัติข้างต้นแล้ว การระบุว่าสารเป็นกรดหรือเบสพิจารณาได้ อย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่ทฤษฎีกรด-เบส 5. ครูให้นิยามของกรดและเบสตามทฤษฎีกรด-เบสอาร์เรเนียส จากนั้นให้นักเรียนอธิบายว่า เพราะเหตุใด HCl และ CH 3 COOH จึงเป็นกรด ส่วน NaOH และ Ca(OH) 2 จึงเป็นเบส จากนั้นให้ นักเรียนยกตัวอย่างสารที่เป็นกรดและเบสตามทฤษฎีนี้ 6. ครูให้ความรู้ว่า ไฮโดรเจนไอออน (H + ) รวมตัวกับน้ำ�เกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H 3 O + ) ดังนั้น ปฏิกิริยาเคมีในน้ำ�จึงเขียน H + และ H 3 O + แทนกันได้ และให้ข้อสังเกตว่าในสมการเคมีที่มี H 3 O + เป็น ผลิตภัณฑ์ จะมี H 2 O เป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาด้วย 7. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง สารที่มี H ในสูตรโมเลกุลเป็นกรด สารที่มี H ในสูตรโมเลกุลบางชนิดไม่เป็นกรด เช่น CH 4 เป็นกลาง NH 3 เป็นเบส สารที่มี OH - ในสูตรโครงสร้างเป็นเบส สารที่มี OH - ในสูตรโครงสร้างบางชนิดไม่เป็น เบส เช่น CH 3 COOH เป็นกรด กรดทุกชนิดให้ H + กรดบางชนิดไม่ได้ให้ H + ขึ้นอยู่กับนิยามที่ใช้ใน การพิจารณา เช่น BF 3 เป็นกรดตามทฤษฎี กรด-เบสลิวอิส H + และ H 3 O + ในน้ำ�แทนสารต่างชนิดกัน H + และ H 3 O + ในน้ำ�ใช้แทนกันได้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 | กรด-เบส เคมี เล่ม 4 10

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4