คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

11.4. ประโยชน์ของเซลล์เคมีไฟฟ้า 11.4.1 แบตเตอรี่ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของเซลล์ปฐมภูมิและเซลล์ทุติยภูมิ 2. อธิบายหลักการทำ�งานและเขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาของเซลล์ปฐมภูมิและเซลล์ทุติยภูมิ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูใช้คำ�ถามว่า นักเรียนเคยเห็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้หลักการของเซลล์เคมีไฟฟ้าอะไรบ้าง ในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งอาจได้คำ�ตอบว่า แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย 2. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างแบตเตอรี่ที่รู้จักพร้อมยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของแบตเตอรี่ นั้น จากนั้นครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า แบตเตอรี่ดังกล่าวใช้หลักการของเซลล์เคมีไฟฟ้าประเภทใด เพื่อนำ�ไป สู่การอธิบายหลักการทำ�งานของแบตเตอรี่ 3. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทและความแตกต่างของแบตเตอรี่ประเภทเซลล์ปฐมภูมิและ เซลล์ทุติยภูมิ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 4. ครูอธิบายหลักการทำ�งานของแบตเตอรี่ซิงค์-คาร์บอน แบตเตอรี่แอลคาไลน์ แบตเตอรี่ ซิลเวอร์ออกไซด์ และแบตเตอรี่ตะกั่ว โดยใช้รูป 11.6–11.8 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง แบตเตอรี่เกี่ยวข้องกับเซลล์กัลวานิกเท่านั้น เนื่องจากเป็นแหล่งให้พลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่เกี่ยวข้องกับทั้งเซลล์กัลวานิกและ เซลล์อิเล็กโทรลิติก โดยในการประจุใหม่ใน แบตเตอรี่ประเภทเซลล์ทุติยภูมิจะใช้หลักการ ของเซลล์อิเล็กโทรลิติก ถ่านไฟฉายไม่ใช่แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉายเป็นแบตเตอรี่ชนิดหนึ่ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 11 | เคมีไฟฟ้า เคมี เล่ม 4 188

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4