คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

สาระสำ�คัญ สารในชีวิตประจำ�วันหลายชนิดมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส การระบุว่าสารใดเป็นกรดหรือเบส สามารถพิจารณาโดยใช้ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส เบรินสเตด-ลาวรี หรือลิวอิส และการพิจารณา คู่กรด-เบสใช้ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด–ลาวรี กรดแก่หรือเบสแก่เมื่อละลายน้ำ�ถือว่าแตกตัวได้สมบูรณ์ ส่วนกรดอ่อนหรือเบสอ่อนแตกตัวได้ บางส่วน ความสามารถในการแตกตัวหรือความแรงของกรดหรือเบสพิจารณาจากค่าคงที่การแตกตัว หรือร้อยละการแตกตัว นอกจากนี้เกลือบางชนิดสามารถแตกตัวในน้ำ�และเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้ ทำ�ให้ได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดหรือเบส ความเป็นกรด-เบสของสารละลายพิจารณาจาก ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน ซึ่งใช้ในการคำ�นวณ pH ของสารละลาย ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารละลายกรดและเบสที่พอดีกัน เรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน ซึ่งให้ผลิตภัณฑ์ เป็นเกลือที่อาจมีสมบัติเป็นกรด กลาง หรือเบส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและเบสที่ทำ�ปฏิกิริยากัน จุดที่สารทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน เรียกว่าจุดสมมูล สำ�หรับปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสอาจสังเกต จุดสมมูลได้จากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมระหว่างการไทเทรตที่เรียกว่า จุดยุติ ซึ่ง ใกล้เคียงกับจุดสมมูล ข้อมูลจากการไทเทรตสามารถนำ�มาใช้คำ�นวณความเข้มข้นหรือปริมาณของสาร ที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาได้ สารละลายบัฟเฟอร์มีสมบัติในการควบคุม pH ของสารละลายไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่อมีการเติมกรด เบส หรือน้ำ�ลงไปเล็กน้อย ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบสสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์หรือ แก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วันได้้ บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 30 ชั่วโมง 10.1 ทฤษฎีกรด-เบส 2 ชั่วโมง 10.2 คู่กรด-เบส 1 ชั่วโมง 10.3 การแตกตัวของกรด เบส และน้ำ� 4 ชั่วโมง 10.4 สมบัติกรด-เบสของเกลือ 2 ชั่วโมง 10.5 pH ของสารละลายกรดและเบส 4 ชั่วโมง 10.6 ปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดและเบส 2 ชั่วโมง 10.7 การไทเทรตกรด-เบส 10 ชั่วโมง 10.8 สารละลายบัฟเฟอร์ 3 ชั่วโมง 10.9 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส 2 ชั่วโมง เวลาที่ใช้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 |กรด-เบส เคมี เล่ม 4 7

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4