คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

9. คำ�นวณปริมาตรของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 0.10 โมลต่อลิตร ที่ใช้ ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายกรดซัลฟิวริก (H 2 SO 4 ) 0.040 โมลต่อลิตรปริมาตร 50 มิลลิลิตร สมการเคมีแสดงปฏิกิริยาระหว่างสารละลาย NaOH กับ H 2 SO 4 เป็นดังนี้ H 2 SO 4 (aq) + 2NaOH(aq) Na 2 SO 4 (aq) + 2H 2 O(l) คำ�นวณปริมาตรของ NaOH ที่ต้องใช้ ปริมาตรของ NaOH = 0.040 mol H 2 SO 4 1000 mL H 2 SO 4 sol n × 50 mL H 2 SO 4 sol n × 2 mol NaOH 1 mol H 2 SO 4 × 1000 mL NaOH sol n 0.10 mol NaOH = 40 mL NaOH sol n ดังนั้น จะต้องใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ปริมาตร 40 มิลลิลิตร 10. กรดเบนโซอิก (C 6 H 5 COOH) 1.24 กรัม ละลายในน้ำ�เป็นสารละลาย 50 มิลลิลิตร นำ� สารละลายนี้ไปไทเทรตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 0.18 โมลต่อลิตร ณ จุดสมมูลจะต้องใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ปริมาตรเท่าใด พร้อมระบุสมบัติ กรด-เบสของสารละลาย ในการไทเทรต C 6 H 5 COOH กับ NaOH ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้ C 6 H 5 COOH(aq) + NaOH(aq) C 6 H 5 COONa(aq) + H 2 O(l) คำ�นวณปริมาตรของ NaOH ที่ต้องใช้ ปริมาตรของ NaOH = 1.24 g C 6 H 5 COOH × 1 mol C 6 H 5 COOH 122.13 g C 6 H 5 COOH × 1 mol NaOH 1 mol C 6 H 5 COOH × 1000 mL NaOH sol n 0.18 mol NaOH = 56 mL NaOH sol n ดังนั้น ปริมาตรสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ณ จุดสมมูล เท่ากับ 56 มิลลิลิตร เนื่องจาก C 6 H 5 COONa แตกตัวให้ Na + และ C 6 H 5 COO - ซึ่ง C 6 H 5 COO - สามารถเกิด ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสกับน้ำ�ได้ดังสมการเคมี C 6 H 5 COO - (aq) + H 2 O(l) C 6 H 5 COOH(aq) + OH - (aq) ในสารละลายมี OH - เกิดขึ้น ดังนั้นสารละลายจึงมีสมบัติเป็นเบส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 | กรด-เบส เคมี เล่ม 4 108

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4