คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

สาระสำ�คัญ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ซึ่งวัดจากการลดลงของสารตั้งต้นหรือการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ใน หน่วยโมลหรือโมลาร์ต่อหนึ่งหน่วยเวลา หารด้วยเลขสัมประสิทธิ์ของสารนั้นในสมการเคมี ซึ่งอาจวัด เป็นอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ยหรืออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ณ ขณะหนึ่ง ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้เมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นชนกันในทิศทางที่เหมาะสมและมีพลังงานจลน์ ของอนุภาคที่ชนมากพอตามทฤษฎีการชน เมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นชนกันจะมีพลังงานศักย์สูงขึ้นจน ถึงสถานะแทรนซิชันตามทฤษฎีสถานะแทรนซิชัน ซึ่งพลังงานก่อกัมมันต์เปรียบเทียบได้จากผลต่าง ของพลังงานศักย์ที่สถานะแทรนซิชันกับสถานะเริ่มต้น ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีหนึ่ง ๆ คือ ความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ และ ตัวเร่งปฏิกิริยา ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำ�วันและอุตสาหกรรมต่าง ๆ บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 18 ชั่วโมง 8.1 ความหมายและการคำ�นวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 7 ชั่วโมง 8.2 แนวคิดเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3 ชั่วโมง 8.3 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 8 ชั่วโมง การดุลสมการเคมี ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส เวลาที่ใช้ ความรู้ก่อนเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 71

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4