คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

การเตรียมล่วงหน้า ตรวจสอบและเลือกใช้ก้านกระบอกฉีดยาที่เคลื่อนที่ได้สะดวกทุกอัน ตัวอย่างผลการทดลอง เมื่อกดก้านกระบอกฉีดยาจนมีปริมาตร 5.0 mL แล้วปล่อยมือพบว่า ก้านกระบอก ฉีดยาเลื่อนกลับออกมาจนมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรเริ่มต้น และเมื่อดึงก้านกระบอกฉีดยา จนมีปริมาตร 20.0 mL แล้วปล่อยมือ ก้านกระบอกฉีดยาเลื่อนกลับเข้าไปจนมีปริมาตร เท่ากับปริมาตรเริ่มต้น อภิปรายผลการทดลอง การทดลองนี้ทำ�ที่อุณหภูมิคงที่   และมีจำ�นวนโมลของอากาศในกระบอกฉีดยาคงที่ เมื่อเริ่มต้นความดันของอากาศปริมาตร 10.0 mL ในกระบอกฉีดยามีค่าเท่ากับความดัน บรรยากาศภายนอก เมื่อกดก้านกระบอกฉีดยาจนทำ�ให้ปริมาตรของอากาศในกระบอกฉีดยาลดลงเป็น 5.0 mL แล้วปล่อยมือ ก้านกระบอกฉีดยาเลื่อนกลับออกมาจนมีปริมาตรเท่ากับปริมาตร เริ่มต้น แสดงว่า อากาศในกระบอกฉีดยาที่ปริมาตร 5.0 mL มีความดันมากกว่าความดัน บรรยากาศ เมื่อดึงก้านกระบอกฉีดยาจนทำ�ให้ปริมาตรของอากาศในกระบอกฉีดยาเพิ่มขึ้นเป็น 20.0 mL แล้วปล่อยมือ ก้านกระบอกฉีดยาเลื่อนกลับเข้าไปจนมีปริมาตรเท่ากับปริมาตร เริ่มต้น แสดงว่า อากาศในกระบอกฉีดยาที่ปริมาตร 20.0 mL มีความดันน้อยกว่าความดัน บรรยากาศ สรุปผลการทดลอง ที่อุณหภูมิและจำ�นวนโมลของอากาศคงที่ เมื่อปริมาตรของอากาศลดลง ความดันของ อากาศจะเพิ่มขึ้น และเมื่อปริมาตรของอากาศเพิ่มขึ้น ความดันของอากาศจะลดลง 5. ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองของรอเบิร์ต บอยล์ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน แล้ว ให้นักเรียนระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุมในการทดลองของบอยล์ เพื่อให้ได้คำ�ตอบว่า ตัวแปรต้น คือ ความดันของแก๊ส ตัวแปรตาม คือ ปริมาตรของแก๊ส และตัวแปรควบคุม คือ อุณหภูมิ และจำ�นวนโมลของแก๊ส 6. ครูใช้คำ�ถามว่า บอยล์หาความดันของแก๊สที่อยู่ในหลอดแก้วด้านปลายปิดได้อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า บอยล์หาความดันของแก๊สที่อยู่ในหลอดแก้วด้านปลายปิดจากผลต่างของ ความสูงของระดับปรอทในหลอดแก้วด้านปลายปิดและเปิด บวกกับความดันบรรยากาศ ( P gas = P atm + ผลต่างความสูงของปรอท) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 7 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส เคมี เล่ม 3 8

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4