คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

9.2 ค่าคงที่สมดุล 9.2.1 การคำ�นวณเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล 9.2.2 ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เขียนความสัมพันธ์ของค่าคงที่สมดุลจากสมการเคมี 2. คำ�นวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเคมี 3. คำ�นวณความเข้มข้นของสารที่สมดุล 4. คำ�นวณค่าคงที่สมดุลหรือความเข้มข้นของสารในปฏิกิริยาหลายขั้นตอน ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนพิจารณาความเข้มข้นของสารที่เริ่มต้นและที่สมดุลของปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับแก๊สไอโอดีน ที่ 485 องศาเซลเซียส ในตาราง 9.1 แล้วใช้คำ�ถามว่า อัตราส่วน ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ต่อความเข้มข้นของสารตั้งต้นทั้งสองรูปแบบ และผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกัน อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่าแตกต่างกันที่ [HI] ยกกำ�ลังสอง และผลลัพธ์ของอัตราส่วน [HI] 2 [H 2 ] [I 2 ] ที่สมดุลมีค่าคงที่ จากนั้นครูอธิบายเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุลตามรายละเอียดในหนังสือเรียน แล้วให้นักเรียน ตอบคำ�ถามชวนคิด ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง การคำ�นวณค่าคงที่สมดุลสามารถใช้ความเข้มข้น ในหน่วยใดก็ได้ การคำ�นวณค่าคงที่สมดุลใช้ความเข้มข้นในหน่วย โมลต่อลิตร ค่าคงที่สมดุลมีหน่วย ค่าคงที่สมดุลไม่มีหน่วย ค่าคงที่สมดุลมาก แสดงว่ามีอัตราการเกิด ปฏิกิริยาไปข้างหน้ามาก ค่าคงที่สมดุลมากแสดงว่าที่สมดุลมีปริมาณของ ผลิตภัณฑ์มากกว่าสารตั้งต้น แต่ปฏิกิริยาเคมีอาจ เกิดเร็วหรือช้าก็ได้ ค่าคงที่สมดุลมาก แสดงว่าปฏิกิริยาเข้าสู่สมดุล ได้เร็ว ค่าคงที่สมดุลคำ�นวณจากความเข้มข้นของสารที่ สมดุล จึงไม่ได้บอกข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเกิด ปฏิกิริยาเคมีก่อนเข้าสู่สมดุล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 9 | สมดุลเคมี เคมี เล่ม 3 144

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4