คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3

ตรวจสอบความเข้าใจ ให้นักเรียนวาดรูปแสดงทิศทางการชนกันของแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) กับ แก๊สโอโซน (O 3 ) ที่มีผลต่อการเกิดแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) กับ แก๊สออกซิเจน (O 2 ) รูปที่วาดควรให้อะตอม N ของ NO ชนกับอะตอม O ที่ปลายของ O 3 เช่น 3. ครูอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานจลน์ของอนุภาคแก๊สและพลังงาน ก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาเคมี โดยใช้รูป 8.4 ประกอบการอธิบาย ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 4. ครูอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีตามทฤษฎีสถานะแทรนซิชัน โดย ใช้รูป 8.5 ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 5. ครูใช้รูป 8.6 เพื่อแสดงตัวอย่างแผนภาพการดำ�เนินไปของปฏิกิริยาเคมีและการจัดเรียงตัว ของอนุภาคสาร ณ สถานะแทรนซิชัน 6. ครูอธิบายแผนภาพการดำ�เนินไปของปฏิกิริยาในรูป 8.7 โดยเน้นให้เห็นว่า ปฏิกิริยาเคมีจะ เกิดเร็วหรือช้าขึ้นกับพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาเท่านั้น แต่ไม่ขึ้นกับชนิดของปฏิกิริยาเคมีว่าเป็น ปฏิกิริยาคายพลังงานหรือดูดพลังงาน จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ + NO NO 2 O 3 O 2 + สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 8 | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เคมี เล่ม 3 96

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4