logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ฝนดาวตกวันแม่

ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ฝนดาวตกวันแม่

โดย :
Kamonwan
เมื่อ :
วันจันทร์, 10 สิงหาคม 2558
Hits
27831

"ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ฝนดาวตกวันแม่"

 


กลับมาอีกครั้งกับ ฝนดาวตกเปอร์เซอิด (Perseid Meteor Showers) ในเดือนสิงหาคมตรงกับวันที่ 11 หรือ 12 ของทุกปี จนเราคนไทยมักเรียกฝนดาวตกนี้ว่า "ฝนดาวตกวันแม่" เพราะเป็นฝนดาวตกที่มีช่วงสูงสุดอยู่ราววันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับ วันเฉลิมพระชนน์พรรษา หรือ วันแม่ ของเราชาวไทยนั่นเอง แต่ฝนดาวตกเปอร์เซอิคเกิดขึ้นช่วงฤดูฝนของเมืองไทยทุกที จนเราชาวไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นฝนดาวตกนี้กันเลย แต่สำหรับทางฝั่งยุโรปและอเมริกา เป็นช่วงฤดูร้อนท้องฟ้าโปร่ง จึงกลายเป็นฝนดาวตกยอดนิยมของชาวตะวันตกไป


ภาพถ่ายของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2555
ภาพจาก Caters News Agency

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ และมีสีสันสวยงาม โดยในช่วงประมาณวันที่ 12 ถึง 13 สิงหาคม จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุด อาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง

สำหรับปีนี้ ช่วงเวลาที่มีอัตราการตกมากที่สุดของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คือ เวลาประมาณบ่ายโมง ของวันที่ 13 สิงหาคม ซึ่งเป็นเวลากลางวันในประเทศไทย แต่สำหรับช่วงเวลากลางคืนก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้แต่อัตราการตกอาจลดลง


ภาพถ่ายของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2556
ภาพถ่ายโดย David Kingham

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสังเกตฝนดาวตกคือ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เพราะช่วงหัวค่ำจนถึงก่อนเที่ยงคืนเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทางการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง ทำให้สังเกตได้ยาก แต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก เราจึงเห็นดาวตกวิ่งในอัตราเร็วที่ช้ากว่า มีเวลาพอจะเห็นความสวยงามของดาวตกได้ชัดเจนขึ้น


ภาพถ่ายของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2556
ภาพจาก ashed : http://imgur.com/gallery/90CMcop

 

 

 

ประวัติความเป็นมา

ชื่อ Perseid ถูกตั้งขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี  Giovanni V.Schiaparelli เมื่อปี คศ.1866 โดยให้ชื่อนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มดาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับจุด radiant หรือจุดเสมือนแหล่งกำหนดของดาวตก นั่นก็คือกลุ่มดาวเจ้าชายเปอร์เซอุส (Perseus) โดยที่ Schiaparelli สังเกตว่าจุด radiant ของฝนดาวตกนี้ใกล้เคียงกับ แนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง 109P/ Swift-Tuttle ซึ่งเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในเมื่อปี คศ.1862 โดยมีคาบการโคจรทุกๆ 130 ปี มีวงโคจรเลยดาวพลูโตออกไปอีก

ครั้งหนึ่งนักดาราศาสตร์เคยวิตกกังวลว่าดาวหางนี้จะชนโลก แต่ข้อมูลปัจจุบันและการคำนวนใหม่พบกว่า ดาวหางดวงนี้ไม่มีอะไรต้องห่วงแล้ว อย่างน้อยก็อีกก็หลายร้อยปี  การกลับมาเยือนของดาวหาง Swift-Tuttle ล่าสุดเมื่อปี คศ. 1992 ก็มาช่วยเพิ่มอนุภาคให้กับ ฝนดาวตกนี้ ช่วยเพิ่มสีสรรให้กับฝนดาวตกนี้น่าสนใจขึ้น ซึ่งมีรายงานว่า ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเพิ่มขึ้นราว 200-500 ดวงต่อชั่วโมงในปี คศ.1993 

อนุภาคเศษฝุ่นผงของดาวตกเปอร์เซอิดนี้ มีขนาดใหญ่ไม่เกินเม็ดทราย  ซึ่งจะเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วประมาณ 132,000 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 59 กิโลเมตรต่อวินาที จะช้ากว่าของฝนดาวตกลีโอนิด ซึ่งเร็วประมาณ 72 กิโลเมตรต่อวินาที



ฝนดาวตกเปอร์เซอิดเป็นหนึ่งในฝนดาวตกประจำปีที่น่าสนใจของประเทศแถบยุโรป และอเมริกา เพราะเป็นฝนดาวตกฤดูร้อน แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะ Peak สูงสุดในช่วงฤดูฝนที่ให้ฝนดาวตกเปอร์เซอิดไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควรในบ้านเรา เหมือนอย่างฝนดาวตกลีโอนิด  จุดเด่นของฝนดาวตกเปอร์เซอิดคือมีไฟร์บอลที่โดดเด่นสวยงามเหมือนกับฝนดาวตกเจมินิดในเดือนธันวาคม

 

 

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฝน,ฝนดาวตก,ดาว,ดาวตก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 10 สิงหาคม 2558
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Kamonwan
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4752 ฝนดาวตกเปอร์เซอิด ฝนดาวตกวันแม่ /article/item/4752-2015-08-10-09-14-22
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ลูกไฟสีเขียวเหนือฟ้าเมืองไทย
ลูกไฟสีเขียวเหนือฟ้าเมืองไทย
Hits ฮิต (27244)
ให้คะแนน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชี้แจงกรณีพบลูกไฟสว่างว ...
LASER Part II : หลักการเกิดแสงเลเซอร์
LASER Part II : หลักการเกิดแสงเลเซอร์
Hits ฮิต (31533)
ให้คะแนน
LASER Part II : หลักการเกิดแสงเลเซอร์ หลักการเกิดแสงเลเซอร์ เพื่อจะเข้าใจการกำเนิดแสงเลเซอร์ต้องเริ ...
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว!!
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว!!
Hits ฮิต (43676)
ให้คะแนน
"มด" สัตว์จิ๋วแต่แจ๋ว !! เร็ว ๆ นี้ทุกคนคงมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ "ANT MAN" มนุษย์มดมหากาฬ หนังคุณภาพด ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)