logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าวในวันที่ 21 ธันวาคม วันเหมายัน

ปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าวในวันที่ 21 ธันวาคม วันเหมายัน

โดย :
Jiraporn Pakorn
เมื่อ :
วันอาทิตย์, 21 ธันวาคม 2557
Hits
66065

21 ธันวาคม วันเหมายัน หรือปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าว คือ วันที่กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน และเป็นวันที่เกษตรกรควรวางแผนการเพาะปลูกล่วงหน้าอีกด้วย

ทุกวันที่ 21-22 ธันวาคมของทุกปี จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตกทางทิศตะวันตกเฉียง ใต้มากที่สุด โดยดวงอาทิตย์จะอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือ จึงทำให้ประเทศในแถบขั้วโลกเหนือบางส่วนมองไม่เห็นดวงอาทิตย์ แต่ในทางกลับกันดวงอาทิตย์จะเอียงเข้าหาขั้วโลกใต้ ทำให้ประเทศในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ได้รับแสงอาทิตย์มาก ส่งผลให้อากาศร้อนกว่าปกติ

โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้มีช่วงกลางคืนที่ยาวนานกว่าช่วงกลางวัน ซึ่งคนไทยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ตะวันอ้อมข้าว" สำหรับทางซีกโลกเหนือจะเรียกว่า "วันเหมายัน" (Winter solstice) และคนไทยส่วนใหญ่ก็เรียกวันนี้ว่าวันเหมายันเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยที่จัดอยู่ในซีกโลกเหนือ ในขณะที่ทางซีกโลกใต้จะเรียกวันดังกล่าวนี้ว่า "วันครีษมายัน" (Summer solstice) ทั้งนี้ วันเหมายัน อ่านว่า เห-มา-ยัน มีอีกชื่อหนึ่งคือวันทักษิณายัน เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (Solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในวันที่ 22 ธันวาคม

"เหมายัน" คือ วันที่กลางคืนยาวที่สุด กลางวันสั้นที่สุด สำหรับด้านซีกโลกเหนือ โลกของเรามีแกนหมุนที่ขั้วโลกโลกเหนือทำมุมเอียง 23.5 องศา

เมื่อโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์มาจนถึงช่วงฤดูหนาว ซีกโลกเหนือเอียงห่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์น้อย อากาศเย็น ขณะที่ซีกโลกใต้ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงมาก อากาศร้อน จึงเป็นฤดูร้อนของซีกโลกใต้

ทุกๆ ปี มีวันหนึ่งในช่วงวันที่ 20-23 ธันวาคม ซึ่งส่วนใหญ่ตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม จะเป็นวันที่แถบซีกโลกเหนือเป็น Winter Solstice หรือ เหมายัน คือกลางคืนยาวนานที่สุด ซึ่งถ้าอยู่บริเวณละติจูด 66.5 องศาเหนือขึ้นไป หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ จะอยู่ในความมืดตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่บริเวณ 66.5 องศาใต้ลงไป หรือบริเวณขั้วโลกใต้ จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเรียกว่าพระอาทิตย์เที่ยงคืนนั่นเอง สำหรับซีกโลกใต้ จะเรียกว่า Summer Solstice หรือ ครีษมายัน เป็นฤดูร้อน บริเวณซีกโลกใต้ มีกลางวันยาวที่สุด กลางคืนสั้นที่สุด

ประเทศไทยอยู่ในแถบซีกโลกเหนือจึงเรียกว่า winter solstice หรือ เหมายัน ซึ่งมาจากคำว่า เหมันต์ ที่แปลว่า ฤดูหนาว สนธิกับคำว่า อายัน ที่แปลว่าการมาถึง ซึ่งอาจมองได้ว่า กลางคืนยาวที่สุด เป็นวันแรกของฤดูหนาว หรืออาจเป็นช่วงกลางของฤดูหนาว แล้วแต่มุมมอง

บ้านเราให้ความสนใจกับวันเหมายันน้อยกว่าชาวยุโรปหรืออเมริกา เพราะเราไม่ได้มี 4 ฤดูกาล และที่สำคัญคือประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร มีกลางคืนนานน้อยกว่าประเทศแถบละติจูดสูงๆ


นอก จากนี้ตะวันอ้อมข้าวยังมีผลต่อการเกษตรที่ต้องใช้ธรรมชาติในการเพาะปลูกแทน เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างในปัจจุบัน เมื่อเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว เกษตรกรควรวางแผนในการเพาะปลูกพืชผัก เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการแสงมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งในช่วงตะวันอ้อมข้าวแดดจะแรงและอากาศจะแห้งกว่าปกติ ทำให้พืชที่ต้องการความชื้นอาจแห้งตายจากการขาดน้ำและเหี่ยวเฉาได้ แต่หากวางแผนการเพาะปลูกได้ดีจะทำให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรที่แปลงผักอยู่ทางทิศใต้จึงจะได้เปรียบมากกว่า

ที่มา:http://hilight.kapook.com/view/112942
http://news.thaipbs.or.th/content/
http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539364345
  • 4424 ปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าวในวันที่ 21 ธันวาคม วันเหมายัน /article-science/item/4424-21
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
น้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง
Hits ฮิต (21921)
ให้คะแนน
...น้ำผึ้ง... สุนทร ตรีนันทวัน รู้จักน้ำผึ้งกันไหมครับ เคยกินน้ำผึ้งกัน บ้างไหมครับ คิดว่าคนส่วนใหญ ...
อาการเหนื่อยล้ากับเปลือกตาที่หนักอึ้ง
อาการเหนื่อยล้ากับเปลือกตาที่หนักอึ้ง
Hits ฮิต (18768)
ให้คะแนน
เรามักจะรู้สึกว่าเปลือกตาหนักอึ้งราวกับมีบางสิ่งดึงรั้งให้ปิดลง และการลืมตาให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ...
พลังของการร้องไห้
พลังของการร้องไห้
Hits ฮิต (16846)
ให้คะแนน
น้ำตาจระเข้ เป็นวลีที่ถูกยกขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบการเสแสร้งแกล้งทำ ด้วยการร้องไห้ออกมาเพื่อแสดงให้ค ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)